11 วิธี รับมือลูกกินยาก

ปัญหาลูกกินข้าวยาก!!!

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของลูกน้อยที่เริ่มกินอาหารเสริมตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เป็นปัญหาที่ทำให้คุณพ่อ คุณแม่หลาย ๆ ท่านต้องปวดหัวไปตาม ๆ กัน วันนี้หอมกรุ่นจะขอนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาและข้อข้องใจคลายกังวลให้คุณแม่ลองปรับใช้เป็นแนวทางกันนะคะ 

 

 

1.ให้น้ำหนักส่วนสูงลูกอยู่ในเกณฑ์

#ถ้าลูกยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก็ไม่ต้องกังวลค่ะ

เนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเด็กที่มีน้ำหนักเกินมากถึง 15-20% และสังคมมักมีค่านิยมที่เชื่อว่าเด็กอ้วนคือเด็กที่แข็งแรง จนทำให้มีผู้ปกครองหลายท่านเข้าใจผิดว่าลูกของตนกินได้น้อย ทั้งๆที่เด็กกินได้ดีและมีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติ (สามารถเทียบน้ำหนักส่วนสูงได้จากตารางเกณฑ์มาตรฐานค่ะ http://www.rajini.ac.th/nurse/test.pdf )
โดยผู้ปกรองควรทราบว่า เด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี จะสนใจเรื่องการกินลดลง น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 2 กิโลกรัม ไม่เพิ่มขึ้นรวดเร็วเหมือนตอนขวบปีแรก และเด็กแต่ละคนก็มีความต้องการอาหารในปริมาณที่แตกต่างกันไป

 

 

2.จัดอาหารในมื้อให้ ตรงเวลา สม่ำเสมอ

วันละ 3 มื้อ, ทิ้งช่วงห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
-จัดเวลาในการให้นม ไม่ให้มากจนเกินไป เพราะเด็กอายุมากกว่า 1 ปี ควรรับประทานข้าวเป็นหลัก และมีนมเป็นเพียงอาหารเสริม (นั่นคือลดปริมาณนมเหลือเพียงวันละ 3 – 4 มื้อ โดยควรให้หลังอาหาร และไม่จำเป็นต้องปลุกเด็กขึ้นมากินนมในตอนกลางคืนอีก)

 

 

3.งดขนมและอาหารระหว่างมื้อ

เพื่อให้เด็กรู้สึกหิวเมื่อถึงมื้ออาหาร จึงควรงดขนมและของกินจุกจิก โดยเฉพาะ ขนมกรุบกรอบและขนมที่มีรสหวาน ก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย ครึ่ง ถึง 1 ชม. โดยหากเด็กต้องการรับประทานขนม ก็ควรรอให้รับประทานหลังจากมื้ออาหาร หากเด็กสามารถรับประทานอาหารมื้อนั้นๆได้ดี

 

 

4 อย่าให้มีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ

คุณพ่อคุณแม่ควรจัดที่นั่งรับประทานอาหารให้ห่างจากสิ่งรบกวน ไม่ให้มีสิ่งอื่นๆ (เช่น โทรทัศน์ ไอแพด หรือของเล่น) มาเบี่ยงเบนความสนใจของลูกระหว่างมื้ออาหาร เพราะการที่เด็กกินข้าวไป ดูทีวีไป หรือเล่นของเล่นไปด้วย จะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องกิน ทำให้กินได้ช้า และอมข้าว 
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กนั่งกับที่เพื่อรับประทานอาหารให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะให้ลุกจากที่นั่งไปเล่นได้ ไม่ควรเดินตามเพื่อป้อนอาหารให้เด็ก
 

 

5 สร้างบรรยากาศที่ดี ผ่อนคลายหรือทานข้าวพร้อมกัน

มื้ออาหารควรเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่จึงควรสร้างบรรยากาศการพูดคุยให้ผ่อนคลาย ไม่ควรแสดงให้ลูกเห็นว่า เราวิตกกังวล หรือหงุดหงิดกับการรับประทานของเขา ไม่ควรกดดัน ต่อว่า จับผิด หรือต่อรองให้เด็กรับประทาน เพราะจะทำให้เด็กยิ่งต่อต้าน และเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรับประทานอาหารได้ และหากเป็นไปได้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กได้รับประทานอาหารพร้อมกับสมาชิกคนอื่นๆ
 

6 เปิดโอกาสให้ลูกกินเอง

คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตนเองให้มากที่สุด เพื่อให้สนุกกับการช่วยเหลือตัวเอง โดยในช่วงแรก อาจมีผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือบางส่วน แล้วจึงค่อยๆลดความช่วยเหลือลงเรื่อยๆตามวัยของเด็ก หากเด็กยังทำเลอะเทอะอยู่บ้างก็ควรยอมรับ ไม่ควรเน้นความสะอาดเรียบร้อยจนเกินไป เพื่อไม่ให้เด็กเบื่อหน่าย และควรกล่าวชมเชยกับความพยายามของเขา และในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ก็ควรเปิดโอกาสให้เขาได้มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร และจัดโต๊ะอาหารไปพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่
 

 

7.ตักอาหารทีละน้อย

การตักอาหารครั้งละน้อยๆ แล้วค่อยเติมเมื่อเด็กรับประทานหมด จะดีกว่าการตักอาหารครั้งละมากๆแล้วบังคับให้เด็กกินจนหมด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกกดดัน อีกทั้งหากเด็กรับประทานอาหารเหลือบ่อยๆ เขาก็จะเคยชินกับการเหลืออาหารทิ้งไว้ในจาน
 

 

8. ควรกำหนดเวลากิน ไม่เกิน 30 นาที

ควรกำหนดเวลาในการรับประทานอาหารให้ชัดเจน ไม่ควรเกินมื้อละ 30นาที เพราะหากยืดเยื้อ และปล่อยให้เด็กกินไปเล่นไปเป็นเวลานานก็จะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่าย โดยคุณพ่อคุณแม่ควรแจ้งกำหนดเวลาให้เด็กทราบล่วงหน้าและสอนวิธีในการดูนาฬิกาง่ายๆให้กับเด็ก

 

 

9. ไม่กินก็เก็บ

หากเด็กไม่ยอมรับประทานอาหารในเวลาที่กำหนด คุณพ่อคุณแม่ควรใช้วิธีเก็บอาหาร และให้เขารอรับประทานในมื้อต่อไป เพื่อให้เด็กเกิดความหิว กระตุ้นให้เจริญอาหารในมื้อหน้า โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรแสดงความโกรธหรือวิตกกังวล และไม่จำเป็นต้องบังคับหรือต่อว่าเด็ก เพียงแต่ปล่อยให้เขารับผิดชอบโดยการรออาหารมื้อต่อไป และงดขนม ของจุกจิกต่างๆในระหว่างมื้อ ซึ่งแม้ว่าเขาจะบ่นหิวและอ้อนขอรับประทานนมหรือขนมก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องใจแข็งและขอให้เขาอดทนไปก่อน

 

10. จัดอาหารให้น่ากิน

การฝึกการรับประทานของลูกในช่วงแรก คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอาหารที่เขาชอบ รับประทานได้ง่าย และจัดตกแต่งให้น่ารับประทาน เพื่อช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้กับเด็ก จนเมื่อเด็กรับประทานอาหารได้ดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มอาหารชนิดอื่นๆให้เกิดความหลากหลาย ให้เด็กได้ทดลองอาหารใหม่ๆ ไปทีละน้อย
 

11. ใช้ตัวช่วยเรื่องรสชาติและสารอาหาร

น้ำสต๊อกหอมกรุ่น เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยให้เด็ก ๆ กินยากกลับมากินข้าวได้ง่ายขึ้น ด้วยรสชาติที่หอมหวาน จากการเคี่ยวผักและเนื้อสัตว์นานถึง 8 ชม. เมื่อนำไปประกอบอาหารจึงได้รสชาติอาหารที่หวานหอม ถูกปากเด็ก ๆ มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังให้คุณประโยชน์มากมาย ทั้งแร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน ด้วยค่ะ ^^